ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สารทเดือนสิบ

         ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ ของประเทศไทย โดยเฉพาะ ชาวนครศรีธรรมราช ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อ ซึ่งมาจากทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเข้ามาในภายหลัง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรก ที่ตนต้องจองจำอยู่ เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากนรกในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 10เพื่อมายังโลกมนุษย์ โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังนรก ในวันแรม 15ค่ำ เดือน 10
ช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรม ของประเพณีสารทเดือนสิบ จะมีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ ถึงแรม 15 ค่ำเดือนสิบของทุกปี แต่สำหรับวันที่ชาวใต้มักจะนิยมทำบุญกันมากคือ วันแรม 13-15 ค่ำ ประเพณีวันสารทเดือนสิบโดยในส่วนใหญ่แล้ว จะตรงกับเดือนกันยายน






ความเป็นมาของงานเทศกาลเดือนสิบ เมืองนครศรีธรรมราช
   “งานเทศกาลเดือนสิบ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2466 ที่สนามหน้าเมือง นครศรีธรรมราช โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อหาเงินสร้างสโมสรข้าราชการซึ่งชำรุดมากแล้ว โดยในช่วงนั้น พระภัทรนาวิก จำรูญ (เอื้อน ภัทรนาวิก) ซึ่งเป็นนายกศรีธรรมราชสโมสร และพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ร่วมกันจัดงานประจำปีขึ้น พร้อมทั้งมีการออกร้าน และมหรสพต่างๆ โดยมีระยะเวลาในการจัดงาน 3 วัน 3 คืน จนกระทั่ง ถึงปี พ.ศ. 2535 ทางจังหวัดได้ย้ายสถานที่จัดงาน จากสนามหน้าเมืิอง ไปยังสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาดซึ่งมีบริเวณกว้าง และได้มีการจัดตกแต่งสถานที่ ไว้อย่างสวยงาม
การจัดเทศการงานเดือนสิบ ถือเป็นความพยายามของมนุษย์ ที่มุ่งทดแทน พระคุณบรรพบุรุษ แม้ว่าจะล่วงลับไปแล้วก็ตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวไทยทุกคน ควรต้องยึดถือปฏิบัติ รวมทั้งปลูกฝังให้อนุชนรุ่นหลัง ได้ปฏิบัติสืบทอดต่อๆไป อย่างน้อย หากมนุษย์ระลึกถึงเรื่องเปรต ก็จะสำนึกถึง บาปบุญคุณโทษ รวมทั้งการแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวที ที่เป็นหัวใจสำคัญ ในการอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างสงบสุข ตลอดไป
ความเชื่อของพุทธศาสนิกชน ชาวนครศรีธรรมราช เชื่อว่าบรรพบุรุษ อันได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย และ ญาติพี่น้อง ที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำความดีไว้ เมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ จะได้ไปเกิดในสรวงสวรรค์ แต่หากทำความชั่ว จะตกนรก กลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญ ที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้ในแต่ละปี มายังชีพ ดังนั้น ในวันแรม 1 ค่ำเดือนสิบ คนบาปทั้งหลาย ที่เรียกว่า เปรต จึงถูกปล่อยตัว กลับมายังโลกมนุษย์ เพื่อมาขอส่วนบุญ จากลูกหลาน ญาติพี่น้อง และจะกลับไปนรกดังเดิม ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ในวันแรม 15 ค่ำเดือนสิบ โอกาสนี้เองลูกหลาน และผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที
วันสารท เป็นวันที่ถือเป็นคติ และเชื่อสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาส ได้กลับมารับส่วนบุญ จากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศล ไปให้ญาติในวันนี้ และเชื่อว่า หากทำบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้ว ญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่ และมีโอกาสหมดหนี้กรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข
อีกประการหนึ่ง สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำนาเป็นอาชีพหลัก ในช่วงเดือนสิบนี้ ได้ปักดำข้าวกล้าลงในนาหมดแล้ว กำลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญ เพื่อเลี้ยงตอบแทน และขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือแม่พระโพสพ หรือ ผีไร่ ผีนา ที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี และออกรวงจนสุกให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตมาก




ความสำคัญของประเพณีสารทเดือนสิบ ของชาวนครศรีธรรมราช
     การทำบุญสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีที่ชาวเมืองนครศรีธรรมราช ได้ถือปฏิบัติด้วยศรัทธาแต่ดึกดำบรรพ์ โดยถือเป็นคติว่า ปลายเดือนสิบของแต่ละปี เป็นระยะที่พืชพันธุ์ธัญญาหารในท้องถิ่นออกผล เป็นช่วงที่ชาวเมืองซึ่งส่วนใหญ่ ยังชีพด้วยการเกษตร ชื่นชมยินดีในพืชของตน ประกอบด้วยเชื่อกันว่า ในระยะเดียวกันนี้เปรตที่มีชื่อว่า ปรทัตตูปชีวีเปรต จะถูกปล่อยใหัขึ้นมาจากนรก เพื่อมาร้องขอส่วนบุญต่อลูกหลาน ญาติพี่น้อง เหตุนี้  โลกมนุษย์ จึงได้มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศล ไปไห้ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย พี่น้อง ลูกหลาน ที่ล่วงลับไป โดยการจัดอาหารคาวหวาน วางไว้ที่บริเวณวัด เรียกว่า “ตั้งเปรตตามพิธีไสยเวทอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้พัฒนามาเป็น “การชิงเปรต” ในเวลาต่อมา




ความมุ่งหมายของประเพณีสารทเดือนสิบ
     ประเพณีสารทเดือนสิบ มีความมุ่งหมายสำคัญอยู่ที่ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ กับ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้อง ผู้ล่วงลับไปแล้ว แต่ด้วยเหตุที่วิถีชีวิตของชาวนครศรีธรรมราช เป็นวิถีชีวิตแห่งพระพุทธศาสนา ในสังคมเกษตรกรรม จึงมีความมุ่งหมายอื่นร่วมอยู่ด้วย
   1) เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้กับ พ่อ แม่ ปู่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง หรือบุคคลอื่นผู้ล่วงลับไปแล้ว
   2) เป็นการทำบุญ ด้วยการเอาผลผลิตทางการเกษตร แปรรูปเป็นอาหารถวายพระสงฆ์ รวมถึง การจัดหฺมรับ ถวายพระ ในลักษณะของ สลากภัต” นอกจากนี้ ยังถวายพระ ในรูปของผลผลิตที่ยังไม่แปรสภาพ เพื่อเป็นเสบียงแก่พระสงฆ์ ในช่วงเข้าพรรษาในฤดูฝน ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ตนเอง ครอบครัว และเพื่อผลในการประกอบอาชีต่อไป
   3) เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความสนุกสนานรื่นเริงประจำปี เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกประเพณี ของชาวนคร แต่ประเพณีนี้มีชื่อเสียงมากที่สุด ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทุกๆ ปี เรียกว่า งานเดือนสิบซึ่งงานเดือนสิบนี้ ได้จัดควบคู่กับประเพณีสารทเดือนสิบ มาตั้งแต่ .. 2466 จนถึงปัจจุบัน


วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติวง Clash


วงแคลช เป็นวงดนตรีไทยสากลแนวร็อค ประกอบด้วยสมาชิก 5 คนคือ แบงค์ ปรีติ บารมีอนันต์ (ร้องนำ) พล คชภัค ผลธนโชติ (กีตาร์) แฮ็คส์ ฐาปนา ณ บางช้าง (กีตาร์) สุ่ม สุกฤษณ์ ศรีเปารยะ (เบส) ยักษ์ อนันต์ ดาบเพ็ชรธิกรณ์(กลอง) ปัจจุบันมีผลงานอัลบั้มเต็ม 7 อัลบั้ม และอัลบั้มพิเศษอีกมากมาย แบ่งเป็น
  • อัลบั้มรวมเพลงฮิต 2 อัลบั้ม คือ Crazy Clash (2547) และ Very Clash (2549) และยังมีอัลบั้ม Double Rock Double Hits ซึ่งได้รวบรวมเพลงฮิตของวงแคลชกับวงเอบี นอร์มอล ในปี พ.ศ. 2548
  • อัลบั้มเพลงเรียบเรียงดนตรีใหม่ 3 อัลบั้ม คือ Soundcream (2546) Smooth Clash (2549) และ FAN (2550)
  • โปรเจกต์พิเศษอีก 2 โปรเจกต์คือ Little Rock Project (2546) และ PACK4 (2547)
  • อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง พันธุ์ X เด็กสุดขั้ว ในปี พ.ศ. 2547 ที่แบงค์วงแคลชได้เล่นร่วมกับหนุ่มวงกะลา จึงได้ออกอัลบั้มพิเศษชุดนี้ร่วมกัน
  • เพลงประกอบภาพยนตร์โฆษณารถมอเตอร์ไซค์ YAMAHA MIO คือเพลง "Here we go" (ในอัลบั้ม Brainstorm) เพลง "หยุดไม่ไหวหัวใจต้องเดินต่อ" (ในอัลบั้ม Crashing) และเพลงประกอบภาพยนตร์โฆษณาที่ไม่ได้ถูกรวมไว้ในอัลบั้มของพวกเขา เช่น เพลง "Automatic Leader"
  • ซิงเกิลพิเศษอีกหลายเพลง เช่น เพลง "หนึ่งมิตรชิดใกล้" ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ไทยเรื่อง Beautiful Boxer ในปี พ.ศ. 2546 และซิงเกิลพิเศษอีก 2 เพลงที่แต่งเพื่อเล่นในคอนเสิร์ต Clash Army Rock Concert โดยเฉพาะ ได้แก่เพลง "ซากคน" และ "สักวันฉันจะไปหาเธอ" ซึ่งต่อมา 2 เพลงนี้ได้ถูกรวมไว้ในอัลบั้ม FAN และยังมีซิงเกิลพิเศษอื่น ๆ อีก เช่น เพลง "ขอเจอสักที (เซียนหรือเกรียน) " "GO" เป็นต้น
และในอัลบั้มพิเศษบางอัลบั้มก็มีเพลงใหม่เพิ่มไว้ในอัลบั้มด้วย เช่น "เธอคือนางฟ้าในใจ" อัลบั้ม Soundcream "อ้างว้าง" อัลบั้ม Crazy Clash "นางฟ้าคนเดิม" อัลบั้ม Smooth Clash และเพลง "เกินคำว่ารัก" ในอัลบั้ม FAN
ถ้านับแยกเป็นจำนวนเพลง เพลงในอัลบั้มเต็มทั้ง 7 ชุด มีทั้งสิ้น 73 เพลง ไม่รวมเวอร์ชันตัดเสียงร้องหรือ Bonus Track เพลงพิเศษในอัลบั้มพิเศษ 6 เพลง ไม่รวมเวอร์ชันคัฟเวอร์ เพลงในโปรเจกต์รวม 10 เพลงไม่รวมเพลงที่ร้องร่วมกับวงอื่น เพลงประกอบภาพยนตร์อีก 5 เพลง ไม่รวมเวอร์ชันคัฟเวอร์ และเพลงพิเศษในโอกาสต่าง ๆ ที่ไม่ถูกรวมไว้ในอัลบั้มใดอีก 3 เพลง รวมแล้วมีเพลงของวงแคลชรวมทั้งสิ้น 87 เพลง ปัจจุบันแยกวงแล้ว